โลโก้
เปลี่ยนแปลงการแสดงผล |
เปลี่ยนภาระเป็นพลัง

คนพิการได้อะไรเพิ่มขึ้นจาก พระราชบัญญัติส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550

คนพิการได้อะไรเพิ่มขึ้นจาก พระราชบัญญัติส่งเสริม  และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550
 
คนพิการได้อะไรเพิ่มขึ้นจาก พระราชบัญญัติส่งเสริม 
และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556

 
พระ ราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2556 มีสาระสำคัญ ดังนี้ 
1. คนพิการสามารถร้องขอเกี่ยวกับสิทธิคนพิการ 
พก. ดำเนินการตรวจสอบการได้รับสิทธิประโยชน์ของคนพิการ รับการร้องขอ และดำเนินคดีเกี่ยวกับสิทธิคนพิการให้เป็นไปตามกฎหมายกำหนด

2. คนพิการได้รับความสะดวกเกี่ยวกับบริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ
มี “เจ้าหน้าที่ออกบัตรประจำ????ตัวคนพิการ” แทนนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนจังหวัด รวมทั้งในอนาคตจะใช้ร่วมกับบัตรประจำตัวประชาชนได้

3. คนพิการไร้สถานะเพราะไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎร อาจได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม
คนพิการที่ไม่มีสัญชาติไทยหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่สูงของประเทศ และมีฐานะยากจนอาจได้รับการช่วยเหลือตามหลักสิทธิมนุษยชน

4. คนพิการมีช่องทางร้องขอให้ขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมได้ดียิ่งขึ้น
มีกลไกการร้องขอ การรวบรวมพยานหลักฐาน การไกล่เกลี่ยและการวินิจฉัยและคณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ

5. คนพิการมีช่องทางเสนอแนะและร้องขอใช้สิทธิของตนเองได้
กำหนด วิธีการ ขั้นตอนการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จากสิ่งอำนวยความสะดวก อันเป็นสาธารณะ ตลอดจนสวัสดิการและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ รวมถึงมอบ ให้มีผู้ดำเนินการแทนได้

6. องค์กรด้านคนพิการมีบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
การ เสนอแนะ การร้องขอ การช่วยเหลือให้บริการจัดหางาน การกีฬาหรือนันทนาการ การประสานงานเกี่ยวกับงานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ แก่คนพิการ

7. คนพิการในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะมากขึ้น
มี “ศูนย์บริการคนพิการ” ทำหน้าที่สำรวจ ติดตามสภาพปัญหาคนพิการ จัดทำระบบข้อมูล ให้บริการข้อมูลข่าวสารการให้คำปรึกษาหรือช่วยดำเนินการเกี่ยวกับการขอใช้สิทธิ
ประโยชน์แก่คนพิการ ฯลฯ

8. คนพิการที่อาศัยในเขตพื้นที่ได้รับการพัฒนาจากองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นท้องถิ่นสามารถจัดสรรงบประมาณของตนเองเพื่อตั้งเป็นกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการส่วนท้องถิ่นได้

9. คนพิการและเครือข่ายได้รับบริการจากกองทุนรวดเร็วขึ้น
การมอบหมายให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการประจำจังหวัดปฏิบัติหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงิน อนุมัติโครงการ กำหนดวงเงิน
และรายการค่าใช้จ่ายแทนได้

10. องค์การคนพิการได้รับเงินสนับสนุนสำ�หรับค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการจากกองทุน
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรคนพิการระดับชาติ ทุกประเภทความพิการมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ ส่งผลให้สามารถสนับสนุนสร้างเสริมเครือข่ายเข้มแข็งได้ทั่วประเทศ

11. องค์กรเอกชนมีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินที่ได้รับการอุดหนุนจากกองทุน
เดิมต้องเสียภาษี เพราะมิใช่เงินบริจาคแบบเอกชนซึ่งบัญญัติขึ้นมาใหม่

12. คนพิการและผู้ดูแลคนพิการได้เข้าถึงการจ้างงานตามกฎหมายเพิ่มขึ้น
โดยการให้สัมปทานจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้าง เหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ ฝึกงาน หรือจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวก
ล่ามภาษามือ หรือให้ความช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการก็ได้

13. คนพิการและเครือข่ายมีหุ้นส่วนในการพัฒนา
ปรับบทบาทให้ พก. มีฐานะเป็นนิติบุคคล และดำเนินการร่วมกับเครือข่ายอย่างใกล้ชิดเพื่อการผลักดันขับเคลื่อน ประสานงานและบริการทางวิชาการให้มีการทำหน้าที่เกี่ยวกับ
การติดตาม ตรวจสอบ ให้คำแนะนำและช่วยเหลือให้คนพิการให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้