สิทธิต่างๆ ของคนพิการ
Q|หลักฐานที่ใช้ในการจดทะเบียนคนพิการมีอะไรบ้าง
A
- เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งประเมินความพิการโดยแพทย์ของ>สถานพยาบาลของทางราชการ และสถานพยาบาลเอกชนที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ
- บัตร ประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือ เอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ ในกรณีเป็นผู้เยาว์ใช้สูติบัตร พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด
- ทะเบียนบ้านฉบับจริง พร้อมทั้งถ่ายสำเนาเอกสาร 1 ชุด
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
Q|สถานที่จดทะเบียนคนพิการมีที่ไหนบ้าง
A
- คน พิการที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานครจดทะเบียนได้ที่ศูนย์คุ้มครองสวัสดิ ภาพชุมชนเขต1-12กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ หรือที่ฝ่ายสังคมสงเคราะห์ งานเวชศาสตร์ฟื้นฟ ูโรงพยาบาลศิริราช หรือที่ศูนย์บริการสิทธิประโยชน์ สถาบันราชานุกูล
- คนพิการที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดจดทะเบียน ได้ที่จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดตั้งอยู่ที่ ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด หรือที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด/อำเภอที่มีศูนย์บริการจดทะเบียนคนพิการแบบ เบ็ดเสร็จในโรงพยาบาล
- คนพิการที่ไม่ได้อยู่ในภูมิลำเนาของตน เช่น ไปประกอบอาชีพอยู่ในจังหวัดอื่น หรือในกรุงเทพมหานครสามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ ณ จังหวัดที่ ตนอาศัยอยู่
Q|การต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ ควรทำอย่างไร
A
เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อสมุดประจำตัวคนพิการหมดอายุ คนพิการจะต้องดำเนินการ ต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการซึ่งหลักฐานในการต่ออายุ สมุดประจำตัวคนพิการ ให้คนพิการนำสมุดประจำตัวคนพิการเล่มเดิม ที่หมดอายุพร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน มาขอรับบริการต่อสมุด โดยเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนฯ จะตรวจสอบหลักฐานจากทะเบียน คนพิการของจังหวัด แล้วจึงดำเนินการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการในสมุดเล่มเดิมให้แก่คนพิการ โดยไม่ต้องใช้เอกสาร รับรองความพิการฉบับใหม่ ยกเว้นแต่ลักษณะของความพิการที่ระบุไว้ในเล่มเดิมไม่ชัดเจน หรือสภาพความพิการเปลี่ยนแปลง ไป เจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนฯ จะให้คนพิการไปขอรับเอกสาร รับรองความพิการฉบับใหม่เพื่อใช้ประกอบการต่ออายุสมุดประจำตัว คนพิการ สมุดประจำตัวคนพิการจะมีอายุ 5 ปี นับจากวันออกสมุด